คำถามหน่วยที่5
ตอบคำถามหน่วยการเรียนที่5
จงตอบคำถามลงในช่องว่างของแต่ละข้อให้ได้ความสมบูรณ์และถูกต้อง
1.การรับรู้ หมายถึงอะไร
ตอบ...กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้าข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสเข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี
2.อวัยวะรับสัมผัสมี 5 ทาง คือ ตา หู จมูก ลิ้น และ กาย
3.องค์ประกอบของกระบวนการรับรู้มี 3 ประการ ได้แก่- อาการรับสัมผัส- อาการแปลความหมายของอาการสัมผัส-ประสบการณ์เดิม
4.ธรรมชาติของการรับรู้มีอะไรบ้าง- การเลือกที่จะรับรู้- การจัดหมวดหมู่ของสิ่งเร้าอย่างมีแบบแผน- ความต่อเนื่อง- ความสมบูรณ์
5.สิ่งต่างๆที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ ได้แก่- สิ่งเร้าภายนอก - สิ่งเร้าภายใน- คุณลักษณะของสิ่งเร้า
6.การเรียนรู้ หมายถึงอะไร- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ก่อนข้างถาวร และพฤติกรรมนี้เป็นผลจากประสบการณ์หรือการฝึกฝนมิใช่การตอบสนองจากธรรมชาติ วุฒิภาวะ หรือความบังเอิญ เป็นต้น
7.จงเขียนแผนภูมิการแบ่งกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ให้ถูกต้องทฤษฎีการเรียนรู้
1.กลุ่มทฤษฎีสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่อง
1.1ทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง
1.2ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข
1.2.1)การเรียนรู้แบบคลาสิค
1.2.2)การเรียนรุ้แบบจงใจกระทำ
2.กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจ
2.1Gestalt T
2.2Field T
8.บลูม จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ออกเป็น 3 หมวด
ได้แก่- พุทธพิสัย- จิตพิสัย- ทักษะพิสัย
9.สภาพที่เอื้อต่อการเรียนรู้มี
4 ประการ คือ
- เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
- ป้อนข้อมูลย้อนกลับทันที
- จัดประสบการณ์ที่เป็นผลสำเร็จ
- การประมาณการที่ละน้อย
10.จงเขียนแผนภูมิกระบวนการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ให้ถูกต้องการรับรู้ตามแนวพุทธศาสตร์
1.อวัยวะรับสัมผัส}การรับสัมผัส การรับรู้ ความรู้สึก ความจำ ความคิด
2.สิ่งเร้าภายนอก}
เขียนโดย Nu tuta ที่ 19:29 0 ความคิดเห็น
คำถามหน่วยที่4
จงเติมคำลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้สมบูรณ์และถูกต้อง
1.)คำว่า Communis แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกัน
2.)การสื่อความหมาย หมายถึง กระบวนการสั่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกต่างๆ ตลอดจนประสบการณ์จากฝ่ายหนึ่ง(ผู้ส่งสาร)สู่อีกฝ่ายหนึ่ง(ผู้รับสาร)
3.)Sender --> Message --> Channel --> Reciever
4.)สาร หมายถึง เนื้อหาสาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิด
5.)Elemnts หมายถึง องค์ประกอบย่อยๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี ...ตัวอย่างเช่น สระ พยัญชนะ หรือสีแดงสีเหลือง เส้น เป็นต้น
6.)Structure หมายถึง โครงสร้างที่นำองค์ประกอบย่อยมารวมกัน ...ตัวอย่างเช่น คำ ประโยค หรือ สีของรูปร่าง รูปทรง
7.)Content หมายถึง ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง ...ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร สอดคล้องเหมาะสมกับอะไร
8.)Treatment หมายถึง วิธีการเลือก การจัดรหัสและเนื้อหาให้อยู่ที่ถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ...ตัวอย่างเช่น ใช้ Style ในการสื่อความหมาย
9.)Code หมายถึงกลุ่มสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ,ความต้องการ ...ตัวอย่างเช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กริยาท่าทาง
10.)อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน, อากาศร้อน ,แสงแดด
11.)อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด ,ความวิตกกังวล ,อาการเจ็บป่วย
12.)Encode หมายถึง การแปลความต้องการของคนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่างๆได้
13.)Decode หมายถึง การเลือกสื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม
14.)จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
..... กระบวนการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายอีกรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งมีองค์ประกอบดัง นี้ ครู --> เนื้อหา หลักสูตร --> สื่อหรือช่องทาง --> นักเรียน
15.) จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
...1.ครูผู้สอนไม่บอกวัตถุประสงค์ให้กับผู้เรียน
...2.ผู้สอนไม่คำนึงถึงความสามารถของผู้เรียน
...3.ผู้สอนไม่สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน
...4.ผู้สอนใช้คำยากทำให้ผู้เรียนไม่เข้าใจ
...5.ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาวกวน
...6.ผู้สอนใช้สื่อไม่เหมาะสม
เขียนโดย Nu tuta ที่ 18:53 0 ความคิดเห็น
ตอบคำถามหน่วยที่2
ตอบคำถามหน่วยที่2
1.จงบอกความหมายของสื่อการสอนให้ถูกต้อง
ตอบ.สื่อการสอน Instruction Mediaหมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการใดๆ ที่เป็นตัวกลางหรือพาหนะในการถ่ายทอดความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน
2.จงอธิบายความสำคัญของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ.สื่อการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของการศึกษา หรือการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น สื่อการ สอน เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะผู้เรียนสามารถเรียนได้มากขึ้น โดยเสียเวลาน้อยลง การได้เห็น ได้ยินช่วยให้เกิดความเข้าใจและเกิดความคิดรวบยอดได้ง่าย ทั้งยังช่วยเหลือในการศึกษาให้ทุกระดับความสามารถ อายุชั้นเรียนและทุกสาขาวิชาด้วย
3.จงอธิบายคุณสมบัติความของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ.
3.1สามารถจับยึดประสบการณ์ ทั้งในลักษณะของรูปเสียงสัญลักษณ์ต่างๆสามารถนำมใช้ตามต้องการ
3.2สามารถจัดแจง จัดการและปรับปรุงแต่งประสบการณ์
3.3สามารถแจกจ่ายและขยายความของข่าวสารออกเป็นหลายๆ ฉบับเพื่อเผยแพร่สู่คนจำนวนมากและสามารถใช้ซ้ำได้หลายๆครั้ง
4.จงบอกถึงคุณค่าของสื่อการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ.
4.1 เป็นศูนย์รวมความสนใจให้แก่
4.2 ทำให้บทผู้เรียนเป็นที่น่าสนใจ
4.3 ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวาง
4.4 ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
4.5 แสดงความหมายของสัญลักษ์ต่างๆ หน่าย
4.6 ให้ ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้ให้เกิดรูปนามธรรม
4.7 แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่าย
4.8 อธาบยสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
4.9 สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆเกี่ยวกับเวลา ระยะทางและขนาดได้ เช่น
4.9.1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้
4.9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลงได้
4.9.3 ย่อสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลงได้
4.9.4 ย่อสิ่งที่เล็กเกินไปให้ใหญ่ขึ้นมาได้
4. 9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาได้
4.9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้
5.จงยกตัวอย่างคุณค่าของ สื่อการสอนในคุณค่าด้านวิชาการ คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษามา อย่างน้อยด้านละ 1 ตัวอย่าง
ตอบ.
5.1 คุณค่าด้านวิชาการ
5.1.1 ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง
5.1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช่สื่อการสอน
5.1.3 ลักษณะที่เป็นรูปธรรมของสื่อการสอน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
5.1.4 ส่วนเสริมด้านความคิด และการแก้ปัญหา
5.1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง และจำเรื่องราวได้มากและได้นาน
5.1.6 สื่อการสอนบางชนิด ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เป็นต้น
5.2 คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
5.2.1 ทำให้เกิดความสนใจ และต้องเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น
5.2.2 ทำให้เกิดความคิดรวบยอดเป็นเพียงอย่างเดียว
5.2.3 เร้าความสนใจ ทำให้เกิดความพึงพอใจ และยั่วยุให้กระทำกิจกรรมด้วยตนเอง
5.3 คุณค่าด้านเศรษฐกิจการศึกษา
5.3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
5.3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ
5.3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกันครั้งละหลาย ๆ คน
5.3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง
6.จงจำแนกประเภทของสื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ.คุณค่าของสื่อการสอน จำแนกได้ 3 ด้าน คือ
6.1การจำแนกสื่อการสอนตามคุณสมบัติ
ชัยยงค์ พรมวงศ์ (2523 : 112) ได้กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
6.1.1 วัสดุ (Materials) เป็นสื่อเล็กหรือสื่อเบา บางทีเรียกว่า Soft Ware สื่อประเภทนี้ผุพังได้ง่าย เช่น
- แผนภูมิ (Charts)
- แผนภาพ (Diagrams)
- ภาพถ่าย (Poster)
- โปสเตอร์ (Drawing)
- ภาพเขียน (Drawing)
- ภาพโปร่งใส (Transparencies)
- ฟิล์มสตริป (Filmstrip)
- แถบเทปบันทึกภาพ (Video Tapes)
- เทปเสียง (Tapes) ฯลฯ
6.1.2 อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสื่อใหญ่หรือหนัก บางทีเรียกว่า สื่อ Hardware สื่อประเภทนี้ได้แก่
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projectors)
- เครื่องฉายสไลค์ (Slide Projectors)
- เครื่องฉายภาพยนตร์ (Motion Picture Projectors)
- เครื่องเทปบันทึกเสียง (Tape Receivers)
- เครื่องรับวิทยุ (Radio Receivers)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receivers)
6.1.3 วิธีการ เทคนิค หรือกิจกรรม (Method Technique or Activities) ได้แก่
- บทบาทสมมุติ (Role Playing)
- สถานการณ์จำลอง (Simulation)
- การสาธิต (Demonstration)
- การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips)
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
- กระบะทราย (Sand Trays)
6.2 การจำแนกสื่อการสอนตามแบบ (Form)
ชอร์ส (Shorse. 1960 : 11) ได้จำแนกสื่อการสอนตามแบบเป็นหมวดหมู่ดังนี้
6.2.1 สิ่งพิมพ์ (Printed Materials)
- หนังสือแบบเรียน (Text Books)
- หนังสืออุเทศก์ (Reference Books)
- หนังสืออ่านประกอบ (Reading Books)
- นิตยสารหรือวารสาร (Serials)
6.2.2 วัสดุกราฟิก (Graphic Materials)
- แผนภูมิ (Chats)
- แผนสถิติ (Graph)
- แผนภาพ (Diagrams)
- โปสเตอร์ (Poster)
- การ์ตูน (Cartoons)
6.2.3 วัสดุและเครื่องฉาย (Projector materials and Equipment)
- เครื่องฉายภาพนิ่ง (Still Picture Projector)
- เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture Projector)
- เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
- ฟิล์มสไลด์ (Slides)
- ฟิล์มภาพยนตร์ (Films)
- แผ่นโปร่งใส (Transparancies)
6.2.4 วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission)
- เครื่องเล่นแผ่นเสียง (Disc Recording)
- เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder)
- เครื่องรับวิทยุ (Radio Receiver)
- เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
6.3 การจำแนกสื่อการสอนตามประสบการณ์
เอดการ์ เดล เชื่อว่าประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมจะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างกับ
ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม ดังนั้นจึงจำแนกสื่อการสอนโดยยึดประสบการณ์เป็นหลักเรียงตามลำดับจากประสบการณ์ที่ง่ายไปยาก
10 ขั้น เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรง (Direct Experiences) มีความหมายเป็นรูปธรรมมากที่สุดทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
จากประสบการณ์จริง เช่น เล่นกีฬา ทำอาหาร ปลูกพืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ประสบการณ์รอง (Verbal Symbols) เป็นกรณีที่ประสบการณ์หรือของจริงมีข้อจำกัด จำเป็นต้องจำลอง
สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาศึกษาแทน เช่น หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง การแสดงเหตุการณ์จำลองทางดาราศาสตร์
ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramaticed Experiences) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์ตรง
หรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในอดีตหรืออาจเป็นความคิด ความฝัน สามารถเรียนด้วยประสบการณ์ตรงหรือประสบการณ์จำลองได้
เช่น การแสดงละคร บทบาทสมมุติ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) เป็นการอธิบายข้อเท็จจริงลำดับความคิดหรือกระบวนการเหมาะสมกับเนื้อหา
ที่ต้องการความเข้าใจ ความชำนาญหรือทักษะ เช่น การสาธิตการผายปอดการสาธิตการเล่นของครูพละ เป็นต้น
ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trips) เป็นการพาผู้เรียนไปศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียน โดยมีจุดมุ่งหมาย
ที่แน่นอน ประสบการณ์นี้มีความเป็นนามธรรมมากกว่าการสาธิต เพราะผู้เรียนแทบไม่ได้มีส่วนในกิจกรรมที่ได้พบเห็นนั้นเลย
ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibits) เป็นการจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้รับด้วยการดูเป็นส่วนใหญ่ อาจจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ
เช่น ของจริง หุ่นจำลอง วัสดุสาธิต แผนภูมิ ภาพยนตร์ เป็นต้น
ขั้นที่ 7 โทรทัศน์และภาพยนตร์ (Television and Motion Picture) เป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากกว่า
การจัดนิทรรศการ เพราะผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยการดูภาพและฟังเสียงเท่านั้น
ขั้นที่ 8 ภาพนิ่ง วิทยุและการบันทึกเสียง (Still Picture) เป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ทางใดทางหนึ่งระหว่างการฟัง
และการพูด ซึ่งนับเป็นนามธรรมมากขึ้น
ขั้นที่ 9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols) เป็นประสบการร์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด บรรยาย การปราศรัย
คำโฆษณา ฯลฯ ดังนั้นผู้เรียนควรมีพื้นฐานเช่นเดียวกับทัศนสัญลักษณ์นั้น ๆ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี
ขั้นที่ 10 วัจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด คำอธิบาย หนังสือ เอกสาร แผ่นปลิว แผ่นพับ
ที่ใช้ตัวอักษร ตัวเลข แทนความหมายของสิ่งต่าง ๆ นับเป็นประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมมากที่สุด
7.จงบอกหลักการใช้สื่อการสอนให้ชัดเจน
ตอบ.ควรดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
1)ขั้นการเลือก (Selection)
2)ขั้นเตรียม (Preparation)
3)ขั้นการใช้หรือการแสดง (Presentation)
4)ขั้นติดตามผล (Follow up)
8.จงอธิบายข้อดีและข้อจำกัดของสื่อการสอนให้ถูกต้องอย่างน้อย 2ชนิด
ตอบ.
1)หนังสือ สมุดคู่มือ เอกสารอื่นๆ
-ข้อดีคือ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับบางคนได้แก่การอ่าน
-ข้อจำกัดคือต้นทุนการผลิตสูง
2)ตัวอย่างของจริง
-ข้อดีคือแสดงภาพตามความเป็นจริง
-ข้อจำกัดคือจัดหาลำบาก
เขียนโดย Nu tuta ที่ 18:25 0 ความคิดเห็น
วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
คำถามหน่วยที่1
1.จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ- เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการ และ ความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการ ปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ1. เทคโนโลยีทางการทหาร ( Military Technology)
2. เทคโนโลยีทางการแพทย์ ( Medical Technology)
3. เทคโนโลยีทางการเกษตร ( Agricultural Technology)
4. เทคโนโลยีทางการสื่อสาร ( Communication Technology)
5. เทคโนโลยีทางการค้า ( Commercial Technology)
6. เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ( Engineering Technology)
7. เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม ( Social Marketing Technology)
8. เทคโนโลยีทางการศึกษา ( Educational Technology)
3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศทางวิทยาศาสตร์ กายภาพและทัศนะ ทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ- ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ ( Media or Physical Science concept) เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ เห็นว่า การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุด มุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
- ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ ( Behavioral science concept)เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็น สำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มีการเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอน หรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการศึกษา 4 ขั้น
คือ 1. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัด และสังเกตเห็นได้
2. ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม และอื่นๆ เพื่อจัดหลักสูตร และโครงการสอนให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนแต่ละคน
3. วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาระสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4. การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร
4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 3ระดับ
ตอบ1. บุคคลธรรมดาสามัญ ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็น การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
2. บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ ความหมายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวม ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ
3. บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน
จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะคือ
(1)ทัศนะ แนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของ ส่วนรวมก่อน การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนาเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง การปฏิรูปตามศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนากับการศึกษาจึงมักรวมแนวทางกันเสมอ- พลาโต ( Plato) กล่าวว่า “การศึกษา” คือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(2)ทัศนะ เสรีนิยม การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่ แล้ว บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมเอาเองใน อนาคต- ศาสตราจารย์สาโรจ บัวศรี ให้ความหมายการศึกษาว่า คือ ความเจริญงอกงามทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ พุทธทาสภิกขุ อธิบายการศึกษาว่า คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของ ตน
5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ-เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู ( Teacher’s Aid)เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ใน สถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทางไปรษณีย์
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีผู้เรียนทั่วประเทศแต่ผู้เรียนอาจจะไม่เคยเห็นผู้สอนตัวจริง มีแต่ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา ฯลฯ6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจนตอบข้อ แตกต่างของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีเป็นการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งการขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้ในสาขาต่างๆ ส่วนนวัตกรรม เราสามารถสังเกตได้
คือ1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย และช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง3 ส่วน คือ ข้อมูลที่ใส่เข้าไป ,กระบวนการ ,และผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันนอกจากนี้ นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ ทั้งนี้เนื่องจากบทบาท และความหมายคล้ายคลึงกัน มีเป้าหมายในการนำไปใช้อย่างเดียว ดังแผนภูมิต่อไปนี้นวัตกรรม (Innovation) เทคโนโลยี (Technology) เป้าหมายที่แน่นอนจะเห็นได้ว่าเป้าหมายที่แน่นอนของนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรม นั้น ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยี
6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ ข้อ แตกต่างของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเทคโนโลยีเป็นการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งการขยายตัวทางวิทยาการทำให้เทคโนโลยี ถูกนำมาใช้ในสาขาต่างๆ ส่วนนวัตกรรม เราสามารถสังเกตได้ คือ
1. เป็นความคิดและการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่เคยมีมาก่อนแล้ว
2. ความคิดหรือการกระทำมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย และช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง3 ส่วน คือ ข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันนอกจากนี้ นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีเสมอ ทั้งนี้เนื่องจากบทบาท และความหมายคล้ายคลึงกัน มีเป้าหมายในการนำไปใช้อย่างเดียว ดังแผนภูมิต่อไปนี้นวัตกรรม (Innovation) เทคโนโลยี (Technology) --- เป้าหมายที่แน่นอนจะเห็นได้ว่าเป้าหมายที่แน่นอนของนวัตกรรมและเทคโนโลยี คือ ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ จะถูกนำมาใช้ก่อนจนกว่าจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน ความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรม นั้น ก็จะกลายเป็นเทคโนโลยี
7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ
1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น ( Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ ( Development) หรือขั้นการทดลอง ( Pilot Project)
3. ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง ( Innovation)
8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจ และความต้องการของแต่ละบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่ม
9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ
1) การสอนแบบโปรแกรม
2) ศูนย์การเรียน
3) ชุดการเรียนการสอน
4) การเรียนการสอนแบบระบบเปิด
5) การสอนเป็นคณะ
6) บทเรียนสำเร็จรูป ยุคเดิมเป็นเอกสาร ยุคใหม่เป็น CAI
7) การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
8) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
9) การเรียนการสอนทางไกล
10) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
11) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอน
12) เรียนปนเล่น1
13) แบบฝึกแบบปฏิบัติเฉพาะคิดหรือเฉพาะวิชา
10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3ข้อ
ตอบ
สาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา มีดังนี้
1) การเพิ่มประชากร การเพิ่มประชากรเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่างๆ เช่น การขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย สถานที่เรียน ครู สื่อการสอน เป็นต้น จึงทำให้การจัดการศึกษาเป็นไปไม่ทั่วถึง
2) การเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องจากการเพิ่มประชากร ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การต่อสู้ดิ้นรน การแข่งขันสูงขึ้น การศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้สังคมได้อย่างมีความ สุขและก้าวหน้าต่อไป
3) ความก้าวหน้าทางวิทยากรใหม่ๆ การศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นผลกระทบมาจากเปลี่ยนแปลงด้าน เศรษฐกิจและสังคม ทำให้พบวิทยาการใหม่ๆ หลากหลาย ด้านการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา และวิธีการสอน เพื่อให้ทันกับเครื่องมือและวิธีการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทย 5 ข้อ
ตอบ
แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยมีดังนี้
1) การจัดห้องเรียนและระบบการสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง
2) การรู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่ทางการเรียนมักเกิดปัญหา เนื่องจากครูเร่งกรอกความรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างเร่งรีบเพื่อให้ทันตามหลัก สูตร จนไม่มีโอกาสฝึกการทำงานร่วมกันของผู้เรียน
3) การสอนแบบพูดอย่างเดียว ผู้เรียนมีหน้าที่เรียนและฟัง ทำให้ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้ฝึกตนเอง
4) การรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ระบบการศึกษาแบบเดิมมักจะสอนแต่ไม่มีการฝึกการเป็นพลเมืองดี
5) คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตนเอง ฝักใฝ่และหลงใหลมาอยู่ในกรุงหรือนิยมของต่างประเทศมากกว่าในประเทศ
12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย 3 ประการ
ตอบ
1. การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
2. เรียนปนเล่น
3. การจัดระบบโรงเรียนในโรงเรียน
4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. การสอนเป็นคณะ
6. กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
7. สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
8. รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะอย่างมีประสิทธิภาพ
9. รู้จักแสวงหาความรู้เอง
10. มีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม
วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)